การทำป้ายชื่อ,ป้ายตู้ไฟ,ตู้ควบคุม และ Name Plate ด้วย เครื่องแกะสลัก (Minicnc) ตอนที่ 1
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับชนิดของป้ายชื่อกันก่อน ป้ายชื่อ อาจทำด้วยวัสดุต่าง กันหลายชนิด ที่เราพบกันมากมีดังนี้
1.ป้ายชื่อโลหะ
2.ป้ายชื่อ อะคริลิค Acrylic
3.ป้ายชื่อพลาสติค PVC สองสี (โรว์มาร์ค)
ป้ายชื่อตามกล่าวข้างต้นสามารถทำได้ด้วย มินิซีเอ็นซี (Minicnc ) แต่ละแบบ จะมีขั้นตอนที่ไม่เหมือนกัน มีการประยุกต์การผลิตได้หลายรูปแบบ งานง่ายๆ แต่ปราณีต.. กับ ป้ายตู้ไฟ , Nameplate ,ป้ายชื่อต้นไม้ วัสดุ จะเป็น อะคริลิค หรือ แผ่นพีวีซี 2 สี (โรมาร์ค , กราโวกราฟ) เห็นเล็กๆ แต่สำคัญ...นะครับ บางโปรเจค ปิดงานไม่ได้ เพราะ ไม่ได้ติดป้าย 1ชิ้น
1. งานป้ายตู้ไฟ , ป้ายตู้ควบคุม หรือ ป้ายระบบของโครงการต่างๆ ใช้อะคริลิค ถ้าได้โปรเจคก็เหมาไปครับ... ชิ้นงานเหมือนในรูปทำราคาได้ตั้งแต่ 10 - 45 บาท / ชิ้น แล้วแต่ปริมาณงาน และ ข้อความ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใส่สวิตซ์ หรือ หลอดไฟ ขนาด 16,22 ,25 ,30 มม.
3. ป้ายชื่อต้นไม้ ... ตัวอย่างงานแบบนี้คิดเหมาเป็นโปรเจค ครับ.. ไม่มากไม่น้อย 1 โปรเจค ระยะเวลา1-2 เดือน คืนทุนเครื่องประมาณ A2 ครับ... จบงาน ผลกำไร น่าพอใจ...
5.ป้ายชื่อติดหน้าอก หน่วยงานราชการ , รัฐวิสาหกิจ , นักเรียน , ลูกเสือ เป็นต้น
การเตรียมพร้อมการทำป้ายชื่อ
1.เครื่อง Minicnc สำหรับงาน แกะสลัก
2.Software สำหรับการสร้าง ออกแบบ และ ใช้งาน ควบคุม Minicnc
3.วัสดุอุปกรณ์ เช่น ดอกกัด ชุดจับยึดชิ้นงาน
4.ส่วนประกอบของป้ายชื่อ เช่น ตราสัญลักษณ์หน่วยงาน , เข็มกลัด
การจัดหา เครื่องมือ และ อุปกรณ์
1.1 MiniCNC ที่แนะนำ มี 3 รุ่น
MiniCNC FS3030 ราคาเรื่มต้นที่ 28,000 บาท
MiniCNC BS3030 ราคาเรื่มต้นที่ 58,000 บาท
NLT2020
1.2 ชนิดของ หัวกัด ( การเลือกใช้งาน ให้เหมาะสม)
1.3 ชนิดของ ดอกกัด (Engraving BIT)
มีแหล่งจำหน่าย และจัดหามากขึ้น จะเรียก เป็น องศา และขนาดปลายคมตัด ซึ่งจะมี 10 ,15 ,20 ,30,45, 60 องศา ส่วนใหญ่ที่ใช้กับงานป้ายชื่อ จะเริ่มที่ 15 องศา
การเลือกใช้งาน จะจัดดอกกัดให้ตามจุดประสงค์ ของลูกค้าแต่ละราย
2.1 โปรแกรมออกแบบ และ โปรแกรมควบคุม Minicnc
2.1.1 โปรแกรมออกแบบ และ โปรแกรมสร้างระหัส G code ควบคุม Minicnc คุณสามารถ ศึกษาได้จาก Link นี้
2.1.2 โปรแกรมควบคุม Minicnc Minicnc คุณสามารถ ศึกษาได้จาก Link นี้เช่นกัน
2.2 Computer สำหรับระบบงาน
การจัดหา Computer มีความจำเป็นสำหรับงาน CNC เราได้ให้ข้อแนะนำใว้ตาม Link นี้
3.1วัสดุอุปกรณ์
กรุณาติดตามต่อไป
4.1 อุปกรณ์ประกอบ ป้ายชื่อ
กรุณาติดตามต่อไป
5. ต้นทุน และ การคิดราคาจำหน่าย
กรุณาติดตามต่อไป
6. ช่องทางการจัดจำหน่าย และ การตลาด
กรุณาติดตามต่อไป
7.วิเคราห์ จุดอ่อนจุดแข็ง และ การแข่งขันในตลาต รวมถึงอุปสรรค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
กรุณาติดตามต่อไป
8.กลยุทธ์ ทางการตลาด
กรุณาติดตามต่อไป
9.มูลค่า และ ส่วนแบ่งทางการตลาด
กรุณาติดตามต่อไป
10.การอยู่รอดในธุรกิจ
กรุณาติดตามต่อไป
มาทำความรู้จักกับ ดอกกัด กันก่อนครับ
สำหรับงานป้ายชื่อ,tag ติดเครื่อง หรือ โลโก้อื่นๆ มักจะเรียกใช้ดอกชนิด Engraving เสมอๆ ดังนั้นเราควรมา ทำความรู้จักกับ กายวิภาคศาสตร์ของดอกกัด Engraving กันก่อนนะครับ และ ดอกกัดเองก็ต้องมีค่า กำหนดการ ใช้งานเช่น ความเร็วในการกัด ชนิดของวัสดุ ความเร็วรอบของดอกกัด ส่วนมากผู้ผลิตดอกกัดจะต้องมี Data Sheet มาให้ เช่น ตามตัวอย่างนี้
และนี่ อาจเป็นละครตัวอย่าง ขั้นตอนการทำงานของ การทำป้ายชื่่อตอนหนึ่ง สำหรับผู้เริ่มต้น คุณชาคริตได้รับงานทำป้ายชื่อของนักเรียนนายร้อย อยากทราบว่าจะเริ่มต้นยังไงกับ Mini CNC ที่ซื้อมา
เราถามคุณชาคริตว่า
-คุณมีวัสดุหรือยัง
-คุณจะใช้โปรแกรมอะไรทำ
-คุณมีดอกกัดหรือเปล่า
-คุณใช้เครื่องเป็นหรือยัง
...คุณชาคริตต้องเริ่มอย่างไร?
-ไปซื้อหรือจัดหาวัสดุมาครับ ลูกค้าต้องการลักษณะงานแบบใหนก็ซื้อแบบนั้น หรือ ยื่นข้อเสนอไป เช่นกัดแผ่นอะคริลิกอาจจะยุ่งยาก ต้องมาลงสีอีก อาจเปลี่ยนเป็นแผ่นโรมาร์ค กัดทีเดียวจบ
หรือ เป็นอะคริลิกเหมือนเดิมถึงจะยุ่งยากแต่ได้ความคงทนแข็งแรงสวยงาม ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่คุณสามารถอธิบายลูกค้าได้ แต่ถ้าอยากได้ของดีก็ต้องแพงกว่าเป็นธรรมดา
-สิ่งสำคัญ คือ ดอกกัด อยากเฉือนหมูแต่มีดทื่อก็ไม่คุ้มกัน คุณต้องพิจารณาว่าหากกัดอะคริลิกเป็นแค่ลายเส้นลงบางๆให้เส้นคมๆ จะต้องเลือกใช้ดอก engraving เนื่องจากคมตัดที่อยู่ด้านข้างเป็นสันคมไม่เป็นเกลียว มีปลายแหลมให้เลือกใช้ตาม Diameter หรือคมตัดของดอก ควรกำหนดความลึกแค่พอเหมาะ เช่น จะลงสีก็ควรให้ลึกหน่อยเพราะเวลาที่เช็ดสีจะได้ไม่ติดออกมามาก หากต้องการกัดแผ่นโรมาร์คควรจะทราบความลึกของสีแผ่นหน้า เพื่อกำหนดความลึกให้ถึงสีของชั้นที่สอง ปกติควรสั่งกัดความลึกลงที่ 0.2 mm (ตัวแปรของความลึกอยู่ที่คุณตั้งดอกกัดบนผิวชิ้นงาน หากแตะผิวเยอะไปความลึกที่ 0.3mm.อาจถูกกัดลึกลงไปอีกมาก)
-สิ่งสำคัญไม่ที่สุดอีกอย่าง คือ ตัวโปรแกรม คุณจะทำสิ่งนั้นได้ดี และ คล่องก็ต้องเป็นสิ่งที่คุณถนัด ดังนั้นขอให้คุณใช้โปรแกรมที่สามารถทำลายเส้นได้ในแบบที่คุณถนัดครับ ผมขอแนะนำเป็นพวก freeware ของฟรีไม่ได้บอกว่าเป็นของไม่ดีแต่ทำมาเพื่อให้ใช้ ทำเพื่อแบ่งปันหรือเหตุผลใดก็แล้วแต่ ไม่ผิดกติกาในเรื่องของลิขสิทธ์ถือว่าสิ่งนั้นให้คุณประโยชน์ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้าเว็บบ้านพันธ์มณี) หากมีตัวโปรแกรมอยู่แล้ว คุณควรทราบรายละเอียดของงาน เช่น ลูกค้ากำหนดขนาดกรอบป้ายชื่อมา คุณควรพิจารณาเลือกทำลายเส้นกรอบก่อน หากกำหนดขนาดตัวอักษรมา จึงควรทำตัวอักษรก่อน สำหรับงานตัวอักษรที่มีความหนาเส้นเท่ากันควรเลือกใช้ฟ้อนต์เส้นเดี่ยวงานจะเร็วขึ้นดังนั้นคุณต้องเลือกใช้ดอกตามคมตัด เช่นแบบงานตัวอักษรความหนาเส้นเท่ากับ 0.5mm.ควรใช้ดอก 0.5mm.กัดงานเดินเส้น และแบบงานที่ฟ้อนต์หวือหวาหรือฟ้อนต์แปลกๆที่ไม่เคยเจอผมแนะนำให้ใช้คำสั่งการกัดงานแบบ area clear หรือ การขุดกัดเอาพื้นที่ออก ลักษณะนี้จึงควรใช้ดอกที่มีคมตัดขนาดเล็กเพื่อที่จะซอกซอนเข้าไปขุดกัดพื้นที่ออกให้ปรากฎเป็นตัวอักษร และสำหรับงาน area clear นี้มีคนถามมามากว่า ทำไมกัดงานแล้วผิวไม่เรียบ ใจเย็นๆครับแล้วจะมีคำถามขึ้นมาว่าเวลาที่ช่างทาสีบ้านโดยใช้แปรงหรือลูกกลิ้งทำไมจึงเรียบ เหตุเพราะเวลาทาช่างจะขยับเลื่อนแปรงหรือลูกกลิ้งให้เหลื่อมกันเพื่อที่สีจะถูกทับในพื้นที่เดิมและทำเช่นนี้จนเต็มผนังบ้าน สีที่เกิดขึ้นจึงเรียบนั่นเอง แล้วเกี่ยวอะไรกับ area clear?
แปรงหรือดอกกัดก็เช่นเดียวกันหากเดินเต็มดอกก็มีสิทธ์ที่ผิวในระหว่างดอกต่อดอกจะไม่เรียบ ในงาน area clear จึงมีคำสั่งย่อยคือ stepover คุณใช้ดอก 0.5mm.เดินขุดกัดงานตัวอักษร หากใช้ stepover 50% จะได้เท่ากับครึ่งดอก หรือ 0.25 นั่นเอง (ตอนนี้ดอกของของคุณตอนเดินกัดงานก็จะกลายเป็นดอก 0.25โดยปริยายและขอบก็จะขุดกัดเหลื่อมกันเอง)ตอนนี้งานก็จะเรียบขึ้นแต่ช้าลง เพราะคุณตั้งเยอะเกินและสำหรับดอก engraving ลักษณะคมตัดองศาเฉียงขึ้น ยิ่งกัดลึกมากจะทำให้คมตัดมีขนาดกว้างขึ้นตามความเฉียงของดอก ดังนั้นตั้งค่า stepover เพียงเล็กน้อยก็พอเพราะเวลากัด ขอบคมตัดก็จะเหลื่อมกินกันอยู่แล้ว คราวนี้คุณสามารถสั่งโปรแกรมคำนวณได้แล้วไม่ยากเลย และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขุดกัดแผ่นรองกัดงานให้เรียบเพราะระนาบของแผ่นรองกัดงานที่ไม่เรียบมีผลอย่างมากในการป้ายชื่อ คุณจะเจอผิวที่ตื้นบ้างลึกบ้างหากไม่ทำการ area clear แผ่นรองกัดงานก่อน
- ซื้อเครื่องมานานแล้วแต่ยังใช้ไม่เป็น เครื่องน้อยใจแย่เลยครับ ทางบ้านพันธ์มณีทำวีดีโอการใช้งานให้แล้วว่างๆรบกวนโทรมาสอบถามได้นะครับ สำหรับการทำป้ายชื่อหลังจากได้ G-code มาแล้ว (จากการคำนวณใน Cam โปรแกรมต่างๆ) ให้คุณตั้งค่าต่างๆตามที่เรียนมา คุณอาจเคยจดไว้แต่หายหรือพอจำได้ไม่ต้องกังวลครับเรากำลังดำเนินการในเรื่องของการใช้เครื่องและการดูแลรักษาเครื่อง ลงไว้ใน Forum ครับ หลังจากติดตั้งเครื่องและตั้งค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ควรมีคือแผ่นรองกัดงาน (แผ่นอะคริลิกหรือแผ่นไม้ Mdf หนาประมาณ3mm.ขึ้นไป) นำมาติดยึดบนโต๊ะงานด้วยแคล้มอลูมิเนียมหรือกาว / กระดาษกาว จากนั้นจึงนำวัสดุของเรามาติดกระดาษกาวด้านหลัง แนะนำให้รีดให้เรียบใช้คัตเตอร์ตัดอย่าฉีกครับเพราะแผ่นกระดาษกาวจะยุ่ยแผ่นไม่ได้ระนาบ กัดงานออกมาไม่สวยโทษกระดาษกาวไม่ได้ครับ
ให้นำแผ่นวัสดุที่ได้แกะกระดาษติดกาวออกโดยใช้ปลายคัตเตอร์ แล้วจึงติดบนแผ่นรองกัดงาน จากนั้นให้ใส่ดอกกัดอย่างระมัดระวัง(เพราะปลายคมมาก ผู้เขียนโดนมาแล้ว) ตัวดอกกัดจะมียางหุ้มอยู่ให้ใส่ดอกกัดทั้งยางหุ้มก่อนจึงค่อยดึงออก จากนั้นถึงวิธีของการตั้งค่าจุดเริ่มการกัดงานที่ผิววัสดุ ควรใช้แผ่นกระดาษรองค่อยๆปรับแกน Z(แกนแนวดิ่งที่ติดใกล้กับหัวกัด) และค่อยๆขยับกระดาษไปพร้อมกันจนรู้สึกว่าถึงผิวชิ้นงานเพราะกระดาษเริ่มฝืดๆแล้วจึงดึงออก เสร็จแล้วให้เปิดเครื่องเช็คทุกอย่างให้เรียบร้อยทุกสวิตซ์เล้วจึงสั่งชื่อไฟล์ที่จะกัดงาน กดปุ่มเริ่มการทำงาน
โปรดติดตามตอนต่อไป ว่า มีวิธีการอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ
และ เหตุ ของการล้มเหลว รวมถึงเทคนิคในการกัดงานให้สวยงาม และ มีคุณภาพ ว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่จำเป็น
และ เหตุ ของการล้มเหลว รวมถึงเทคนิคในการกัดงานให้สวยงาม และ มีคุณภาพ ว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่จำเป็น
หากสนใจติดตาม กรุณา กด Like Face Book บ้านพันธ์มณี เพื่อติดตามข่าวสาร หรือ กด ขอเป็นเพื่อน กับ Panmaneecnc
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น