- Key : หัวใจหลัก, เป้าหมายหลัก, กุญแจสำคัญของความสำเร็จ
- Performance : ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล, ความสามารถในการทำงาน
- Indicator : ดัชนีชี้วัด, ตัวชี้วัด
ประเภทของ KPI
1. การวัดผลทางตรง
ประเภทนี้จะแสดงผลออกมาโดยตรงอย่างชัดเจน ไม่ต้องตีความใดๆ ตัวเลขบ่งบอกค่าตามความเป็นจริง และมีหลักฐานตรวจสอบได้ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Ratio Scale แบบมาตราวัดอัตราส่วน อย่างเช่น น้ำหนัก ส่วนสูง จำนวนสินค้า เป็นต้น
2. การวัดผลทางอ้อม
ประเภทนี้จะไม่แสดงผลออกมาโดยตรงอย่างชัดเจน จะต้องวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมองเพิ่มเติม เช่น การวัดทัศนคติ ความรู้ บุคลิกภาพ เป็นต้น เป็นการประเมินที่ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Interval Scale หรือมาตรวัดอันตรภาค หรือมาตราวัดแบบช่วง ที่ประเมินตามความเห็นส่วนบุคคล ชั่งน้ำหนักในการให้คะแนนตามเกณฑ์ส่วนตัวที่แตกต่างกัน
KPI วัดได้หลายมุมมอง
1. Positive KPI
ดัชนีวัดความสำเร็จในเชิงบวก จะเป็นการกำหนดเกณฑ์การประเมิลผลในแง่ดีที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ อาทิ ยอดขาย กำไร ความพึงพอใจของลูกค้า กำลังการผลิต เป็นต้น
2. Negative KPI
ดัชนีวัดความสำเร็จในเชิงลบ จะเป็นการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลโดยใช้ข้อบกพร่อง ปัญหา จุดด้อย หรือเกณฑ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มาเป็นบรรทัดฐาน อาทิ เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่ผิดพลาด เกณฑ์ลดอัตราการขาดทุนให้น้อยที่สุด เกณฑ์ลดความไม่พึงพอใจของลูกค้าให้ต่ำลง เป้าหมายในการกู้ยืมที่ต่ำลง เป็นต้น
แนวคิดที่นิยม สำหรับการนำมาตั้งเป้าหมายตลอดจนวัตถุประสงค์ใน KPI "SMART"
Specific – เฉพาะเจาะจง
การวัดผล KIP ที่ดีนั้นควรมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการวัดที่ชัดเจนและมีความเฉพาะเจาะจง บอกชัดเจนว่าต้องทำอะไร ต้องการอะไร อย่ามีขอบข่ายที่กว้างจนเกินไป เพราะจะทำให้การวัดผลไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร และเป็นข้อมูลที่อาจไม่มีประโยชน์ได้
ตัวอย่าง
เพิ่มลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติในไทยให้ได้ 30% ภายในระยะเวลา 1 ปี
Measurable – สามารถวัดได้
การวัดผล KPI ควรจะสามารถวัดได้ในทางสถิติ (มีการวัดผลเป็นตัวเลข) ได้ ซึ่งจะนำเอาข้อมูลนั้นมาเป็นเกณฑ์การตัดสินได้ชัดเจนกว่า
ตัวอย่าง
การวัด KPI จากยอดขายสินค้าของแต่ละคนภายในปีนี้
Achievable – บรรลุผลได้
เป้าหมายที่ตั้งจะต้องสามารถบรรลุผลได้จริง ไม่ตั้งจนเกินพอดี ไม่สมเหตุสมผล หรือไม่มีทางเป็นไปได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ตั้งจนง่ายเกินไป อาจทำให้การวัดผลนั้นไร้ประโยชน์
✔ตัวอย่างที่สามารถบรรลุผลได้✔
เพิ่มผลกำไรจากกลุ่มลูกค้าใหม่ให้ได้ 30% ภายในระยะเวลา 1 ปี
✘ตัวอย่างที่สามารถบรรลุผลได้ยากจนเกินไป✘
หาลูกค้าเซนต์สัญญากับบริษัทให้ได้ 1 ล้านคน ภายใน 3 เดือน (ต้องเปรียบเทียบกับขนาดธุรกิจของบริษัทด้วย)
⚠ตัวอย่างที่สามารถบรรลุผลได้ง่ายจนเกินไป⚠
เพิ่มผลกำไรให้ได้ 5% ภายในระยะเวลา 1 ปี
Realistic – สมเหตุสมผล สอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง
การตั้งเกณฑ์นั้นจำเป็นจะต้องดูตามสานการณ์ ตั้งให้สมเหตุสมผล และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง คำนึงถึงสถานการณ์จริงให้มากที่สุด
✔ตัวอย่างที่สมเหตุสมผลสอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง✔
ลดอัตราการขาดทุนต่ำลงจากปีที่แล้ว 10% ในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอย
✘ตัวอย่างที่ไม่สมเหตุสมผลและไม่สอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง✘
เพิ่มกำไรให้ได้ 70% จากปีที่แล้ว ภายใน 1 ปี ในขณะที่บริษัทมีแนวโน้มกำไรลดลงเรื่อยๆ ทุกปี\
Timely – กำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน
สิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการวัดผลก็คือการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน มีระยะเวลาในการทำงานในกระบวนการต่างๆ เพื่อนำมาวัดผล หากไร้กรอบเวลาที่ชัดเจน การวางแผนก็จะล้มเหลวได้ และไม่มีแรงกระตุ้นที่ดีในการทำงานด้วย
เพิ่มยอดขายให้ได้ 30% จากปีที่แล้ว ภายในระยะเวลา 1 ปี
วิธีการกำหนดตัวชี้วัดหลักใน KPI
1. กำหนดตัวชี้วัดหลักระดับองค์กร (Organization indicators)
2. กำหนดตัวชี้วัดหลักในระดับหน่วยงาน (Department indicators)
3. กำหนดตัวชี้วัดในระดับรายบุคคล (Individual indicators)
4. กำหนดตัวชี้วัดรอง (Secondary indicators)
นอกจากตัวชี้วัดหลักซึ่งเป็นการวัดประสิทธิภาพของการทำงานโดยตรงแล้ว เราควรมีตัวชี้วัดรองเพื่อรองรับด้วย ตัวชี้วัดรองนี้อาจไม่เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง แต่เป็นตัวชี้วัดอีกด้านที่อาจเป็นส่วนเสริมในการพิจารณาประกอบกัน สำหรับหน่วยงานที่มีตัวชี้วัดหลักชัดเจน มีการประเมินค่าออกมาเป็นตัวเลขเพื่อวัดผลได้ อาทิ ยอดขาย กำไร จำนวนการผลิต เป็นต้น
ตัวชี้วัดรองอาจไม่มีความจำเป็นนัก หรือเป็นปัจจัยในการพิจารณาเพิ่มที่ละเอียดขึ้น แต่สำหรับหน่วยงานที่ไม่อาจมีตัวชี้วัดที่ประเมินค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน ตัวชี้วัดรองอาจมีส่วนสำคัญ อาทิ หน่วยงานด้านบริการ หน่วยงานสนับสนุน หน่วยงานธุรการ เป็นต้น ซึ่งตัวชี้วัดรองอาจกำหนดในเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ เพื่อเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมกับเนื้องาน เช่น การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าที่มีส่วนต่องานบริการ เป็นต้น
ประโยชน์ของ KPI
- ประเมินผลและชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลแต่ละตำแหน่ง ว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้หรือไม่ หรือควรปรับปรุงอะไร
- ชี้วัดความสำเร็จขององค์กรว่าสามารถบรรลุเป้าหมายที่องค์กรวางไว้ได้หรือไม่
- ใช้ประเมินผลที่มีประโยชน์ต่อการพิจารณาเพิ่มอัตราจ้างหรือโบนัสประจำปี
- วัดผลเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องแล้วแก้ไข
- นำผลมาใช้ในการวางแผนงานตลอดจนแผนการลงทุน ไปจนถึงประเมินงบประมาณในปีหน้าได้
- ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาในการตั้ง KPI ในปีถัดไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น